วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556


1 .ซอฟต์แวร์ระบบ
คือซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการประสานงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ(operating sytem) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ ลินุกซ์ เป็นต้น
คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้หากปราศจากระบบปฏิบัติการ ซึ่งช่วยให้มนุษย์ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ เราสามารถสั่งงานผ่านระบบปฏิบัติการให้คอมพิวเตอร์คำนวณ ให้แสดงภาพให้พิมพ์ข้อความหรือผลลัพธ์ออกมาทางเครื่องพิมพ์เนื่องจากระบบปฏิบัติการทำหน้าที่ประสานงานระหว่างโปรแกรมต่างๆ กับฮาร์ดแวร์ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ หน่วยรับเข้า และหน่วยส่งออก ซอฟต์แวร์ประยุกต์ไม่ว่าประเภทใดล้วนแต่ต้องทำงานบนระบบปฏิบัติการทั้งสิ้นเนื่องจากคอมพิวเตอร์จะไม่ทำงานถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการ การเริ่มใช้งานคอมพิวเตอร์ทุกครั้งจึงต้องบรรจุ( load ) ระบบปฏิบัติการเข้าไว้ในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะให้เครื่องเริ่มทำงานอย่างอื่น
ระบบปฏิบัติการกับการปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการทำหน้าที่ประสานงานหรือกำกับดูแลการงานของคอมพิวเตอร์ ในการกำหนดว่าจะเก็บโปรแกรมหรือข้อมูลไว้ในส่วนใดของหน่วยความจำ ดูแลการติดต่อระหว่างส่วนต่างๆของคอมพิวเตอร์กับโปรแกรมใช้งาน หรือผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ควบคุมการส่งสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ขึ้นไปปรากฏบนจอภาพ ควบคุมการพิมพ์ ตัวอย่างเช่น ควบคุมการแปลสัญญาณจากแป้นพิมพ์ให้เครื่องรับรู้ ควบคุมการบันทึกหรือการอ่านข้อมูลของเครื่องขับแผ่นบันทึก นอกจากนี้ในปัจจุบันการทำงานในลักษณะกลุ่ม และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาทในการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวาง ทำให้ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมาในระยะหลังๆจำเป็นต้องมีความสามารถในการทำงานและให้บริการบนเครือข่ายเพิ่มขึ้นโดยระบบปฏิบัติการมีหน้าที่จัดการงานในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์จัดสรรให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมในเครือข่ายสามารถใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกัน เช่น การใช้งานเครื่องพิมพ์ร่วมกัน และ ควบคุมดูแลการใช้งานข้อมูลส่วนกลางซึ่งอยู่ในเครื่องที่ทำหน้าที่เป็นแม่ข่าย โดยสามารถกำหนดสิทธิในการเข้าใช้ข้อมูลของผู้ใช้ที่อยู่ในกลุ่ม มีระบบป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับข้อมูล
ประเภทของระบบปฏิบัติการ
เนื่องจากระบบปฏิบัติการเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้แต่ด้วยเครื่องคอมพิวคอมพิวเตอร์ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันมีสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกัน เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานทั่วไปจะมีคุณสมบัติและการทำงานที่แตกต่างจากคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น มินิคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องให้บริการที่ต้องคอยให้บริการและดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นบริวารจำนวนมากระบบปฏิบัติการที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทนี้จึงต้องมีความซับซ้อนกว่าระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และเราสามารถแบ่งประเภทของระบบปฏิบัติการตามลักษณะการทำงานได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1) ประเภทใช้งานเดียว (single-tasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น ใช้ในเครื่องขนาดเล็กอย่างไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการดอส
2) ประเภทใช้หลายงาน (multitasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกัน ผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน โดยระบบปฏิบัติการจัดสรรทั้งเวลาและเนื้อที่ที่ต้องใช้ในการประมวลผลคำสั่งของซอฟต์แวร์แต่ละชนิด เช่น แบ่งปันเวลาในการประมวลผลของซีพียูและแบ่งเนื้อที่ในหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูลและคำสั่งของซอฟต์แวร์ที่ใช้งาน เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95 และ 98
3) ประเภทใช้งานหลายคน (multiuser)ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล ทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคนแต่ละคนจะมีสถานีงานของตนเองเชื่อต่อกับคอมพิวเตอร์จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถในการจัดการสูง เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถทำงานเสร็จในเวลา ระบบปฏิบัติการในกลุ่มนี้ เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็นที



2 .ซอฟต์แวร์ประยุกต์ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น เพื่อประยุกต์กับงานที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์จัดเก็บภาษี ซอฟต์แวร์สินค้าคงคลัง ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นต้นการทำงานใดๆ โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จำเป็นต้องทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมของซอฟต์แวร์ระบบด้วย ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำต้องทำงานภายใต้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสหรือวินโดวส์ เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้รับความนิยมใช้งานอย่างแพร่หลายในทุกวงการ ความนิยมส่วนหนึ่งมาจาก ขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประยุกต์นั้นๆ เพราะซอฟต์แวร์ที่ผลิตออกจำหน่าย ต่างพยายามแข่งขันกันหลายๆ ด้าน เช่น เรียนรู้และใช้งานได้ง่าย สนับสนุนให้ใช้กับเครื่องพิมพ์ได้ดี มีคู่มือการใช้ซอฟต์แวร์ที่อ่านเข้าใจง่าย ให้วิธีหรือขั้นตอนที่อธิบายไว้อย่างชัดเจน และมีระบบโอนย้ายข้อมูลเข้าออกกับซอฟต์แวร์อื่นได้ง่าย ซอฟต์แวร์ประยุกต์มีอยู่มากมาย อาจแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ คือ ซอฟต์แวร์ใช้เฉพาะทางและซอฟต์แวร์สำเร็จ

วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

การแบ่งClass ของเครือข่าย IP addess



ขึ้น
รู้จัก IP address
Domain Name System



 


การติดต่อสื่อสารกันในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีโพรโตคอล TCP/IP เป็นมาตรฐานนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมอยู่ จะต้องมีหมายเลขเครื่องเอาไว้อ้างอิงให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทราบ เหมือนกับทุกคนที่ต้องมีชื่อและนามสกุลให้คนอื่นเรียก ซึ่งจะซ้ำกันไม่ได้ หมายเลขเครื่องอ้างอิงดังกล่าวเรียกว่า IP Address หรือ หมายเลข IP หรือบางที่เรียกว่า แอดเดรส IP” (IP ในที่นี้คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง) ซึ่งถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้มีตัวเลขถูกแบ่งเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิต เท่า ๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐาน 10 ก่อนเพื่อเป็นการง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละตัวด้วยจุด ดังนั้นตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ตั้งแต่ 0 จนถึง 28 - 1 = 255 เท่านั้น เช่น 192.10.1.101 เป็นต้น


bullet


ตัวเลข IP Address ชุดนี้เป็นสิ่งที่สำคัญคล้าย ๆ เบอร์โทรศัพท์ที่เรามีใช้อยู่และไม่ซ้ำกัน เพราะสามารถกำหนดตัวเลขได้ทั้งสิ้น 4 พันล้านเลขหมาย แต่การกำหนดให้คอมพิวเตอร์มีเลขหมาย IP Address นี้ ไม่ได้เริ่มจาก 1 และเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ หากแต่จะมีการจัดแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ


bullet


ส่วนแรก เป็นเลขหมายของเครือข่าย (Network Number)


bullet


ส่วนที่สอง เรียกว่าหมายเลขคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายนั้น (Host Number) เพราะในเครือข่ายใด ๆ อาจมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่มากมาย ในเครือข่ายที่อยู่คนละระบบ อาจมีเลข Host ซ้ำกันก็ได้ แต่เมื่อรวมกับเลขหมาย Network แล้วจะเป็น IP Address ที่ไม่ซ้ำกันเลย



bullet


ในการจัดตั้งหรือการกำหนดเลขหมาย IP Address นี้มีวิธีการกำหนดที่ชัดเจนและมีวิธีกฏเกณฑ์ที่รัดกุม ผู้ใช้ที่อยากจัดตั้ง Host คอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมต่อเข้าอินเตอร์เน็ตและบริการต่าง ๆ สามารถขอเลขหมาย IP Address ได้ ที่หน่วยงาน Internet Network Information Center (InterNIC) ขององค์กร Network Solution Incorporated (NIS) ที่รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา แต่ถ้าผู้ใช้สมัครเข้าเป็นสมาชิกขอใช้บริการอินเตอร์เน็ตจากบริษัทผู้ให้บริการ (Internet Service Provider) เรียกย่อ ๆ ว่า หน่วยงาน ISP รายใดก็ตาม ก็ไม่ต้องไปขอ IP Address เนื่องจากหน่วยงาน ISP เหล่านั้นจะกำหนดหมายเลข IP ให้ใช้ หรือส่งค่า IP ชั่วคราวให้ใช้งาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการขอใช้รูปแบบของการบริการ


bullet


IP Address นี้จะแบ่งได้เป็น 5 ระดับ (Class) ที่ใช้งานโดยทั่วไปจะมีเพียง 3 ระดับคือ Class A, Class B, Class C ซึ่งจะแบ่งตามขนาดของเครือข่ายนั่นเอง ถ้าเครือข่ายนั้นมีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่มากก็จะจัดอยู่ใน Class A ถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ลดหลั่นกันลงมาก็จะจัดอยู่ใน Class B, Class C ตามลำดับ







bullet


จากรูปจะเห็นว่าหมายเลข IP ของ Class A ตัวแรกจะเป็น 0 และหมายเลขของเครือข่าย (Network Number) ขนาด 7 บิต และมีหมายเลขของเครื่องคอมพิวเตอร์ (Host Number) ขนาด 24 บิต ทำให้ในหนึ่งเครือข่ายของ Class A สามารถมีเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้ถึง 224 = 16 ล้านเครื่อง เหมาะสำหรับองค์กรหรือบริษัทเครือข่ายยักษ์ใหญ่ แต่ใน Class A นี้จะมีหมายเลขเครือข่ายได้ 128 ตัวเท่านั้นทั่วโลก คือสามารถมีเครือข่ายยักษ์ใหญ่ Class A ได้เพียง 128 เครือข่ายเท่านั้น


bullet


สำหรับ Class B จะมีหมายเลขเครือข่าย แบบ14 บิต และหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ 16 บิต (ส่วนอีก 2 บิตที่เหลือบังคับว่าต้องขึ้นต้นด้วย 10 ) ดังนั้นสามารถมีเครือข่ายอยู่ใน Class B ได้มากกว่า Class A คือมีได้ถึง 214 = 16,384 เครือข่าย และสามารถมีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อในเครือข่าย Class B แต่ละเครือข่ายได้ถึง 216 หรือ 65,536 เครื่อง


bullet


สุดท้ายคือ Class C ซึ่งมีหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ 8 บิตและมีหมายเลขเครือข่ายแบบ 21 บิต ส่วน 3 บิตแรกบังคับว่าต้องเป็น 1102 ดังนั้นในแต่ละเครือข่ายของ Class C จะมีจำนวนเครื่องต่อเชื่อมได้เพียงไม่เกิน 254 เครื่องต่อเครือข่าย ( 28 = 256 แต่หมายเลขเครื่อง 0 และ 255 จะไม่ถูกใช้งาน จึงเหลือเพียง 254 ดังนั้นวิธีการสังเกตได้ง่าย ๆ ว่าเราเชื่อมต่อเครือข่าย Class ใดสามารถดูได้จาก IP Address ในส่วนหน้า (ส่วน Network Address) โดย


bullet


Class A จะมี Network ตั้งแต่ 0 ถึง 127 (จะได้เห็นว่า บิตแรกเป็น 0 เสมอ)


bullet


Class B จะมี Network ตั้งแต่ 128 ถึง 191 (เพราะขึ้นต้นด้วย 102 เท่านั้น)


bullet


Class C จะมี Network ตั้งแต่ 192 ถึง 223 (เพราะขึ้นต้นด้วย 1102 เท่านั้น)
เช่นถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในอินเตอร์เน็ตมีหมายเลข IP ดังนี้ 150.16.80.7 ตัวเลข 150.16 แสดงว่าเป็นเครือข่าย Class B ซึ่งหมายเลขเครือข่ายเต็มๆ จะใช้ สองส่วนแรกคือ 150.16 และมีหมายเลขของเครื่องคอมพิวเตอร์คือ 80.7 หรือถ้ามี IP Address เป็น 192.168.8.55 ทำให้เราทราบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นอยู่ในเครือข่าย Class C มีหมายเลขเครือข่ายอยู่ใน 3 ส่วนแรก ได้แก่ 192.168.8 และมีหมายเลขประจำเครื่องคือ 55 เป็นต้น


วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556


 


  









     
                                                                                                    

วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555


IPv6เหนือกว่าIPv4 อย่างไร

IPv6 เป็นโปรโตคอลที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย IETF (The Internet Engineering Task Force) เพื่อให้สามารถมีไอพีแอดเดรส ได้เพียงพอต่อความ ต้องการในอนาคต รวมทั้งปรับปรุงคุณภาพ และความปลอดภัย (security) ในการใช้งานให้มีมากยิ่งขึ้น IPv6 เริ่มมีการใช้งานที่ประเทศญี่ปุ่นและ เกาหลี ทั้งนี้ เพราะทั้งสองประเทศเป็นประเทศแรกๆ ที่เริ่มมีปัญหาการขาดแคลนไอพีแอดเดรส ต่อมาประเทศจีนและทางฝั่งยุโรปก็เริ่มมีการใช้งาน IPv6 ส่วนสหรัฐอเมริกานั้นยังไม่ประสบปัญหาการขาดแคลนไอพีแอดเดรสจึงยังคงใช้ IPv4 อยู่ ขณะที่ประเทศไทยนั้นยังอยู่ในช่วงการทดสอบการใช้ งานซึ่งมีบริษัทที่ร่วมทดสอบได้แก่ CAT, AsiaInfonet, CS-Loxinfo, JI-Net, Samart และ Internet Thailand 

เดิม

IPv4 นั้นมีขนาดไอพีแอดเดรส 32 บิต ซึ่งเท่ากับว่าจะมีจำนวนหมายเลขไอพีแอดเดรสเท่ากับ 232 หมายเลข (ประมาณ 4.3×109 หมายเลข) โดยหมายเลขไอพีแอดเดรสนั้นจะถูกระบุด้วยเลขฐานสิบ เช่น 192.168.2.100 ส่วน IPv6 สามารถเพิ่มจำนวนบิตของไอพีแอดเดรสได้มาก ขึ้นเป็น 128 บิต นั่นหมายความว่าจะมีจำนวนไอพีแอดเดรสได้มากถึง 2128 หมายเลข (ประมาณ 3.4×1032 หมายเลข) โดยจะถูกระบุด้วยเลขฐานสิบหก แทน ซึ่งจากการเพิ่มจำนวนบิตใน IPv6 ทำให้จำนวนไอพีแอดเดรสที่เพียงพออย่างแน่นอน

ตาราง IPv6เหนือกว่าIPv4 อย่างไร
คุณสมบัติ
ข้อดีของ IPv6

ความสำคัญ
1. การกำหนดค่าแอดเดรส(Addressing)
IPv6 นั้นมีจำนวนไอพีแอดเดรสที่มากกว่า IPv4 ถึง8×1028 เท่า
การมีจำนวนไอพีแอดเดรสเพิ่มขึ้นทำให้สามารถเพิ่มอุปกรณ์ สื่อสารเพื่อขยายขนาดของเครือข่ายได้ และตอบสนองการใช้ งานได้ดียิ่งขึ้น
2. การปรับแต่งระบบ
(Configuration)


IPv6 สนับสนุนการปรับแต่งระบบให้เป็นแบบ อัตโนมัติ หรือ automatically configuration ซึ่งไม่ จำเป็นต้องกำหนดไอพีแอดเดรสตายตัว (Static Address) หรือ การกำหนดแบบครั้งคราว (DHCP)แบบ IPv4

การใช้งาน automatically configuration นั้นมีความง่าย เพราะไม่ต้องปรับแบบ manual ซึ่งมีความยุ่งยากในการดูแล จัดการเครือข่าย

3. การรับส่งข้อมูล
(Data Delivery)

IPv6 มีการปรับ Header ให้มีขนาดเท่ากันทำให้ง่าย ต่อการประมาลผล นอกจากนี้ IPv6 ยังสามารถ จัดลำดับความสำคัญ (priority) ของ traffic เพื่อกำหนดคุณภาพของการให้บริการ (QoS)

ในการส่งข้อมูลมัลติมีเดียนั้น ความเร็วและความถูกต้องของ ข้อมูลที่ส่งเป็นสิ่งที่สำคัญ และหากมีการจัด priority ของ ข้อมูลยิ่งทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานและการให้บริการดี ยิ่งขึ้น

4. เส้นทาง
(Routing)

IPv6 มีโครงสร้างการหาเส้นทางแบบลำดับชั้น ทำให้ การส่ง packet จาก segment หนึ่งไปยังอีกsegment หนึ่งเป็นไปโดยง่าย

IPv4 มีการจัดลำดับเส้นทางเพียงบางส่วนเท่านั้น ทำให้ ตารางเส้นทาง (routing table) มีขนาดยาวและใหญ่มาก ซึ่ง แตกต่างจาก IPv6ที่มีขนาดตารางเส้นทางเล็กเนื่องจากoverhead ที่ใช้ประมวลผลที่ router มีขนาดน้อยกว่า

5. ความปลอดภัย
 (Security)
ใน IPv4 มาตรฐานความปลอดภัยของไอพี (IP Security Standard : IPSec) ถูกกำหนดให้เป็นเพียง แค่ตัวเลือก ไม่จำเป็นต้องใช้ในเครือข่ายก็ได้ แต่ในIPv6 IPSec ถูกกำหนดตามมาตรฐาน ให้เป็นสิ่งที่ต้องใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของเครือข่าย

การมีมาตรฐานความปลอดภัยที่แน่นอนและเหมือนกัน ทำให้ การใช้งานระบบอินเตอร์เนตเป็นไปโดยง่าย และมีความปลอดภัยของข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น
]

วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555



รวยระดับโลกตั้งแต่หนุ่มโดยไม่โกงใคร  แต่ยังเช่าอพาร์ตเมนต์เล็ก ๆ
และขี่จักรยานหรือไม่ก็เดินไปทำงานทุกวันในทุกวันนี้



    ความเป็นอัจฉริยะเหนือมนุษย์ทั่วไป  ปรากฏให้เห็นตั้งแต่วัยหนุ่ม

ด้วยอายุเพียง  ๒๐ ปี  เท่านั้น  

    เขาสร้างเนื้อสร้างตัวรวยเร็วที่สุด  เท่าที่นิตยสาร  Forbes

เคยทำการสำรวจมาในหมู่ผู้ที่สร้างความร่ำรวยด้วยตนเอง  !!  

    ราคาหุ้นมีมูลค่าสูงกว่า  ๕๐,๐๐๐ ล้านบาท  ขึ้นแท่นเป็น

มหาเศรษฐีอายุน้อยที่สุดอันดับหนึ่งของโลก  ที่สร้างฐานะด้วยลำแข้ง
ของตนเอง  โดยใช้เวลาเพียงแค่  ๖ ปี เท่านั้นเอง !!

    หนุ่มผู้ที่กล่าวถึงนี้  คือ   มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก !!


    ผู้สร้าง   Facebook.com  ให้โลกได้รู้จัก  และเป็นเครือข่าย

สังคมออนไลน์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ที่มีผู้ใช้กันมากที่สุดในโลกขณะนี้

    มารู้จักกับ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก  สักเล็กน้อย




มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก  CEO ของ  Facebook.com



    มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก  (Mark Elliot Zuckerberg)  มีเชื้อสาย 

ยิว - อเมริกัน  เกิดเมื่อวันที่ ๑๔  พฤษภาคม  ๒๕๒๗  (ปัจจุบันอายุ
๒๖ ปี)  (คนเก่งระดับโลก เช่น ไอน์สไตน์, ฟอน บราวน์ เป็นต้น มักมี
เชื้อสายยิว - ผู้เขียน) 

    เติบโตในย่าน  Dobbs Ferry  นิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา  


    เข้าศึกษาระดับมัธยมที่ Ardsley High School และจบมัธยมปลาย

ที่ Phillips Exeter Academy ในปี  ๒๕๔๕



    สมัยเรียนไฮสกูล  ซักเคอร์เบิร์กหัดเป็นโปรแกรมเมอร์ ตั้งแต่อยู่

ชั้น  ป. ๖  เขากับเพื่อนสร้าง  โปรแกรมสำหรับเรียนรู้นิสัยการฟังเพลงของ
ผู้ใช้  Winamp  และ  MP3  และเปิดให้ดาวน์โหลดฟรีทางอินเตอร์เน็ต
(คนเก่ง ๆ มักเรียนรู้ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่เด็ก  ตรงกันข้าม
กับเด็กไทยบางคน สนใจแต่เล่นเกมส์ และมีแนวโน้มจะมากขึ้น - ผู้เขียน)

    ซัคเกอร์เบิร์กเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด หยุดเรียนไป

กลางคัน และกลับมาลงทะเบียนเรียนอีกครั้งในปี ๒๕๔๙  ที่ฮาร์เวิร์ด 
ซัคเกอร์เบิร์กเริ่มต้นโครงการวิจัยหรือโปรเจ็กต์ชิ้นแรกกับเพื่อนร่วมห้อง 
Arie Hasit ชื่อของโปรเจ็กต์นี้คือ Coursematch เป็นบริการที่เปิดให้
นักศึกษาสามารถดูรายชื่อเพื่อนร่วมชั้นเรียนได้ 

    โปรเจ็กต์ต่อมาคือ Facemash.com เว็บไซต์โหวตรูปนักศึกษา

ฮาร์เวิร์ดว่าใครได้รับความนิยมชมชอบมากหรือน้อย แต่แล้วเมื่อโปรเจ็กต์
นี้ให้บริการจริงบนโลกออนไลน์เพียง ๔ ชั่วโมง มหาวิทยาลัยก็ลงดาบระงับ
การใช้อินเทอร์เน็ตของซัคเกอร์เบิร์ก ด้วยข้อหาว่าโปรเจ็กต์นี้ของ
ซัคเกอร์เบิร์กละเมิดนโยบายการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้
และเป็นภัยต่อระบบความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย

    ซัคเกอร์เบิร์กคลอดบริการนาม Facebook จากห้องพักตัวเอง

ในมหาวิทยาลัยด้วยฤกษ์วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ บางแหล่งข่าวระบุว่า
ซัคเกอร์เบอร์เขียน โปรแกรม FaceBook ชุดดั้งเดิมในเวลาไม่ถึง ๒ สัปดาห์ 
คราวนี้ไม่ใช่บริการโหวตรูปหรือบริการแสดงรายชื่อเพื่อนร่วมชั้น แต่เป็น
บริการที่ให้นักศึกษาสามารถโพสต์ข้อมูลของตัวเองได้เท่าที่ต้องการ




Dustin Moskovitz เืพื่อนและผู้ร่วมก่อตั้ง Facebook.com 

กับ Mark Zuckerberg

    แน่นอนว่าเฟสบุ้กได้รับความนิยมถล่มทลายในฮาร์เวิร์ด นักศึกษา

ราว ๒ ใน ๓ แห่ลงทะเบียนใช้งานตั้งแต่ ๒ สัปดาห์แรกที่เปิดให้บริการ ต่อมา
ซัคเกอร์เบิร์กและเพื่อน Dustin Moskovitz เริ่มขยายบริการเฟสบุ้กไปยัง
มหาวิทยาลัยอื่น เช่น สแตนฟอร์ด โคลัมเบีย และเยล โดยราว ๔ เดือน 
สถานศึกษาที่ใช้บริการ Facebook มีจำนวนราว ๓๐ แห่ง เมื่ออะไรก็ไปได้สวย 
ซัคเกอร์เบิร์กตกลงใจเดินทางไป Palo Alto แคลิฟอร์เนียพร้อม Moskovitz 
และกลุ่มเพื่อนช่วงฤดูร้อนปี ๒๕๔๗ ทั้งกลุ่มวางแผนกลับฮาร์เวิร์ดให้ทัน
ฤดูใบไม้ร่วงแต่ก็เปลี่ยนใจอยู่ที่แคลิฟอร์เนียต่อไป และขาดเรียนที่ฮาร์เวิร์ด
ตั้งแต่นั้น

    Facebook นั้น เป็นที่รู้จักในนามบริการออนไลน์ที่ทำให้ผู้ใช้

แบ่งปันข้อมูลกับเพื่อนที่อยู่ในสังคมเดียวกันแบบรวดเร็วทันใจ  และเข้าถึง 
ทั้งข้อมูลแฟ้มภาพถ่ายเมื่อครั้งไปเที่ยว ภาพยนตร์ที่ชอบ และประวัติส่วนตัว
ทั่วไป 

    ต่างจากเว็บไซต์ชุมชนออนไลน์อื่นตรงที่ Facebook เป็นชุมชน

ในโลกที่มีตัวตนอยู่จริง ใช้ชื่อ Email เดียวกันและต้องการทำความรู้จัก
คนอื่น ๆ ในสังคมเดียวกัน ทั้งหมดนี้โดนใจชาวอเมริกันที่กระตือรือร้นอยาก
จะรู้จักคนอื่นในสังคมเดียวกันให้มากขึ้น  

    ซัคเกอร์เบิร์กได้พบกับ Peter Thiel ผู้ร่วมก่อตั้งบริการชำระเงิน

ออนไลน์ PayPal ซึ่งให้ทุนก้อนแรกมา ๕ แสนเหรียญ  สำนักงาน Facebook
แห่งแรกจึงกำเนิดขึ้นที่ University Avenue ในตัวเมือง Palo Alto  นับจาก
นั้นไม่กี่เดือน ปัจจุบัน Facebook มีอาคารสำนักงานในเมือง Palo Alto 
จำนวน ๔ อาคาร ซึ่งซัคเกอร์เบิร์กเรียกว่า "urban campus" หรืออาณาจักร
วิทยาลัย    




จดหมายเปิดผนึกจาก  Mark Zuckerberg  เมื่อวันที่  ๒ ธันวาคม  ๒๕๕๒

ที่น่าสนใจ  เพื่อทราบแนวทางในการพัฒนา Facebook ในอนาคต 

ลักษณะการทำงานของ  Facebook



Facebook  เปิดตัวในปี พ.ศ. ๒๕๔๗  โดย มาร์ก ซักเกอร์ เบิร์ก  ซึ่งขณะนั้น

เป็นนักศึกษาหนุ่มน้อยวัยแค่  ๒๐ ปี จากมหาวิทยาลัยชื่อดัง  "ฮาร์วาร์ด" 
เขาร่วมมือกับเพื่อนอีก ๒ คน คิดค้นสร้าง เครือข่ายภายในรั้วมหาวิทยาลัย
โดยให้นักศึกษาที่สนใจสามารถเข้ามาอัพเดตและ แบ่งปันข้อมูลส่วนตัวและ
รูปภาพได้ จนได้รับความนิยมมากขึ้น จากภายในมหาวิทยาลัยกระจายสู่
มหาวิทยาลัยชั้นนำอื่น ๆ และขยายกลุ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันมีผู้สนใจจากทั่วโลก
เข้าลงทะเบียนใช้งานมากกว่า ๒๔ ล้านคน  เฉลี่ยมีผู้ลงทะเบียนใหม่กว่า 
๑๐๐,๐๐๐ รายต่อวัน


ลักษณะการทำงานของ  Facebook


          มีลิงก์จากเพื่อนส่งเข้ามาหาและถ้าตอบตกลง sign up เข้าไปก็จะ

เข้าไปอยู่ในเครือข่ายของ  Facebook ทันที ขณะเดียวกันก็สามารถส่งลิงก์
เชื้อเชิญเพื่อนคนอื่นให้เข้ากลุ่มเป็นลูกโซ่ ต่อไปได้ โดยใน Facebook จะมี
การแบ่งปันข้อมูลประสบการณ์ของแต่ละคน อัพเดตรูปภาพที่ได้ไปเที่ยวกัน
มา พูดคุย ติดต่อ เมาท์ หรือแม้แต่เข้าไปยุ่งเรื่องคนอื่นก็ได้

    บางคนอาจคิดว่า Facebook เหมือนกับ  My space  เว็บไซต์

เครือข่ายออนไลน์ที่ฮอตอยู่ในขณะนี้   แต่  Facebook มีมากกว่านั้น 
ความโดดเด่นของ  Facebook คือผู้ใช้งานต้องใช้ชื่อจริงและอีเมล์เดียวกัน
ในการลงทะเบียนและมีความต้องการที่จะรู้จักคนอื่นที่มีตัวตนจริง ๆ บนโลก
ใบนี้

    นักวิจัยจากสถาบันแห่งหนึ่งจากอังกฤษกล่าวว่า Facebook  ยอด

เยี่ยมกว่า My space เพราะเหมาะสำหรับ "เด็กดี" ขณะที่  My space เหมาะ
สำหรับ ขาร็อก ฮิปฮอป ศิลปิน หรือคนทำงาน 


ความร้อนแรงและความหอมหวานของ Facebook และ

วิสัยทัศน์อันกว้างไกลของ CEO หนุ่มไฟแรงแห่ง Facebook

                                                                                                                                                            


    ความร้อนแรง และความหอมหวานของ Facebook ทำให้บริษัท

ออนไลน์ยักษ์ใหญ่ ของโลกอย่าง Yahoo.com เสนอซื้อกิจการด้วยมูลค่า
สูงลิ่วถึง $ ๑.๖ พันล้าน แต่ได้รับการปฏิเสธจาก Mark Zuckerberg 
ก่อนหน้านี้

    เมื่อเร็ว ๆ นี้ยักษ์ใหญ่ Search Engine อย่าง Google ก็อยาก

ได้ Facebook มาไว้ในครอบครอง   ด้วยการยื่นข้อเสนอทุ่ม  ๒.๖ พันล้าน
ดอลล่าสหรัฐ ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการเจรจา แต่ดูท่าทีของ CEO Zuckerberg
แล้ว ยังอยากเก็บหุ้นส่วน และบริษัทของตัวเองไว้มากกว่า

    จากการทุ่มเสนอซื้อ Facebook ของ Google ครั้งนี้เป็นที่น่าสังเกต

ว่าราคาสูงกว่า ที่เคยซื้อ Youtube มากทีเดียว   ซึ่งเดิมที Google ได้ซื้อ 
Youtube มาด้วยราคา $ ๑.๖๕ พันล้าน 

   ขายหุ้นให้ไมโครซอฟท์


    บิลล์ เกตส์  ผู้สร้างตำนานลาออกจากมหาวิทยาลัย  เพื่อมาก่อตั้ง

ไมโครซอฟท์  เป็นนักลงทุนรายแรก ที่ยอมควักกระเป๋าจ่ายเงิน  ๒๔๐ ล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ  แลกกับหุ้นเฟชบุ๊กเพียงแค่  ๑.๖  %  เมื่อปลายปี  ๒๕๕๐
ต้งแต่เฟซบุ๊กให้บริการมาได้แค่ ๓ ปี และมีผู้ใช้บริการเพียง ๕๐ ล้านคน
ขณะนั้น  รายได้ของเฟซบุ๊กก็ยังไม่มากมายเท่าทุกวันนี้  โดยสามารถทำเงิน
เพียง  ๑๕๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ  และมีสินทรัพย์รวมไม่ถึง  ๒๐๐  ล้านดอลลาร์
สหรัฐ

    กระนั้น การตัดสินใจของไมโครซอฟท์หนุนส่งให้มูลค่าตลาดของ

เฟซบุ๊กเพิ่มขึ้นเป็น  ๑,๕๐๐  ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในชั่วข้ามคืน

    ช่วงเวลานั้น  มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า  ไมโครซอฟท์คงกินยาผิด

ถึงได้ตัดสินใจขี่ช้างจับตั้กแตนขนาดนั้น  แต่นักวิเคราะห์ที่รู้จริงกลับเดาทาง
ถูกว่า  เงินแค่ ๒๔๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ  เป็นเรื่องจิ๊บจ๊อยมาก  เมื่อเทียบกับ
สิ่งที่ไมโครซอฟท์หมายมั่นปั้นมือ

    นั่นคือ  การแลกกับสินทรัพย์มหาศาลที่มองไม่เห็นในงบดุล  จาก

การเข้าถึงฐานลูกค้าจำนวนหลายสิบหลายร้อนล้านคนของ Facebook โดย
เฉพาะลูกค้าต่างประเทศ  และลูกค้าในวัยหนุ่มสาว ซึ่งไมโครซอฟท์ยังเข้า
ไม่ถึง


 ขายหุ้นให้กับ  DST  สัญชาติรัสเซีย



    นอกจากนี้  ดีลประวัติศาสตร์อีกครั้งของ  Facebook  ก็คือตกลง

ขายหุ้นนิดหน่อยให้กับกลุ่มนักลงทุนอินเตอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ สัญชาติรัสเซีย
"ดิจิตอล สกาย เทคโนโลยีส์"  หรือ  DST  เพื่อแลกกับการเจาะตลาด
Facebook ในแถบรัสเซีย และยุโรปตะวันออก  ซึ่ง  DST เป็นเจ้าของธุรกิจ
และนายทุนใหญ่คุมตลาดอินเตอร์เน็ตทั้งภูมิภาคดังกล่าว

    ดีลประวัติศาสตร์นี้ ตกลงกันสำเร็จเมื่อเดือน พฤษภาคม ปีที่แล้ว

โดยฝ่ายนายทุนหมีขาวใจป้ำยินดีจ่ายเงิน  ๒๐๐  ล้านดอลลาร์สหรัฐ  แลก
เปลี่ยนกับหุ้นบุริมสิทธิแค่  ๑.๙๖ %  ของหุ้น Facebook  ซึ่งขณะนั้นมีมูลค่า
รวม  ๑๐,๐๐๐  ล้านดอลลาร์สหรัฐ  พร้อมรับปากว่าจะไม่มีตัวแทนในบอร์ด
บริหารและไม่ก้าวก่ายเรื่องการบริหาร  ซึ่งถือเป็นแนวทางสำคัญของ 
Facebook  ตลอดมา      


ชีวิตส่วนตัว ของ Mark  Zuckerberg






    ถึงแม้จะร่ำรวยทั้งเงินทองและชื่อเสียงชนิดหาตัวจับยาก  แต่ทุก

วันนี้  CEO หนุ่มแห่ง  Facebook  ยังคงใช้ชีวิตสมถะไม่แตกต่างจากเดิม

    เขาชอบสวมสเวตเตอร์เชิ้ตสีน้ำตาล กับกางเกงสแล็กสีกากีง่าย ๆ

และรองเท้าแตะอาดิดาสคู่โปรด

    ยังคงเช่าอพาร์ตเมนต์เล็ก ๆ อยู่ใกล้ออฟฟิศทำงานย่าน พาโล

อัลโต  ซึ่งเป็นซิลิคอน วัลเลย์  ในรัฐแคลิฟอร์เนีย  เหมือนเมื่อครั้งเริ่มก่อตั้ง
Facebook ใหม่ ๆ  ภายในห้องมีแค่ฟูกนอนราคาถูก  โต๊ะทำงานตัวเดียว
กับเก้าอี้สองตัว   

    ส่วนอาหารเช้าของมหาเศรษฐี  ก็ยังเป็นซีเรียลใส่นมในชาม

กระดาษกับช้อนพลาสติก  

    และใครจะเชื่อว่าเขายังขี่จักรยาน หรือไม่ก็เดินไปทำงานทุกวัน !!!




    เห็นไหมครับว่า  คนรวยระดับโลกตั้งแต่หนุ่ม โดยไม่โกงใคร

ใช้เวลาสร้างตัวด้วยสมอง เพียง  ๖ ปี เท่านั้นก็ยังมี  แถมยังใช้ชีวิตสมถะ 
เช่าอพาร์ตเมนต์เล็ก ๆ อยู่ และขี่จักรยานหรือไม่ก็เดินไปทำงานทุกวันใน
ทุกวันนี้

    รวยล้นฟ้าแล้ว  ทำอะไร ๆ  มักน่ารักไปหมดเลย  !!!



วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Smart Phone คืออะไร (วัน ศุกร์ ที่ 30 พฤศจิกายน 2555)




Smart Phone คืออะไร


Smart Phone หมายถึงโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถพิเศษเพิ่มเติมของ PDA เข้าไป ทำให้สามารถมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น รับส่งอีเมล์ มีปฏิทิน จัดทำตารางนัดหมาย และ contact เป็นต้น เรียกได้ว่า Smart Phone เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดย่อมเลยทีเดียว

คุณสมบัติเด่นของ Smart Phone

ระบบปฏิบัติการ หรือ OS (Operating System) เป็นระบบที่ช่วยให้การทำงานของโทรศัพท์มีประสิทธิภาพ และเป็นตัวกำหนดว่าโปรแกรมต่างๆ ที่จะสามารถติดตั้งเข้ากับ Smart Phone ได้หรือไม่ด้วย สำหรับระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมใช้งานบน Smart Phone ได้แก่ Symbian OS, Windows Mobile, Palm OS หรือแม้กระทั่ง Linux OS

อุปกรณ์ต่อพ่วงที่ใช้สำหรับ Smart Phone

  • หูฟัง Bluetooth
    หูฟังแบบไร้สาย ที่อาศัยเทคโนโลยี Bluetooth ในการสื่อสาร โดยสามารถพูดคุยได้ โดยไม่จำเป็นต้องวางโทรศัพท์ไว้ใกล้ตัวเอรา ปกติจะสามารถใช้งานในระยะประมาณ 10 เมตร ทั้งนี้ขึ้นกับประสิทธิภาพของ Bluetooth
  • แป้นพิมพ์ - Keyboard ช่วยให้เกิดความสะดวกในการพิมพ์ข้อความ โดยเฉพาะอีเมล
  • จอยสติ๊ก JoyStick สำหรับเล่นเกมส์บนมือถือ เพื่อความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น
  • อื่นๆ อีกมากมาย

PDA PHONE, PALM PHONE คืออะไร

  • การนำ PDA หรือ Pocket PC มาเพิ่มความสามารถในการใช้งานโทรศัพท์
  • ส่วน Palm Phone ก็คือเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Palm มาเพิ่มความสามารถในการใช้งานโทรศัพท์


โทรศัพท์แบบ SMART PHONE

DOPOD 838 PDA PHONE


  • HTC Smart Phone?
  • Motorola A1000
  • Nokia 6680
  • O2 XDA II
  • Samsung i600
  • Sony Ericsson P800, P900

** ด้วยการทำงานของ Smart Phone ที่มีความหลายหลาย และใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์ สามารถติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมเข้าไปได้ ดังนั้น ปัญหาที่อาจเกิดตามมาโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ง่ายๆ นั่นคือ ไวรัส ซึ่งจะมีลักษณะการทำงานคล้ายๆ กับไวรัสคอมพิวเตอร์ คงต้องชั่งใจ สักนิด ก่อนเลือกซื้อ..


SmartPhone ...เมื่อพูดถึงคำนี้ หลายคนคิดว่า มันจะทำให้ชีวิตของเราง่ายขึ้น? ทำให้เราทำงานสำเร็จลุล่วง? แต่ยังก่อน จนกว่าคุณจะอ่านบทความนี้จบ และทบทวนว่าวันนี้คุณใช้สมาร์ทโฟนอย่าง "สมาร์ท" แล้วหรือยัง
โทรศัพท์ได้รับความนิยมและใช้งานต่อเนื่องมาอย่างยาวนานจนกระทั่งการมาของ "iPhone" ได้เปลี่ยนความคิดของการใช้โทรศัพท์แบบเดิม และเกิดนิยามคำว่าสมาร์ทโฟนขึ้นมาได้ชัดเจนและเห็นภาพมากขึ้น
Steve Job เคยกล่าวนิยามของ SmartPhone ไว้ว่า"ปัญหาของ smartphone คือ...มันไม่ได้สมาร์ทซะทุกอย่างเหมือนที่ชื่อบอกและมันก็ไม่ได้ง่ายต่อการใช้งานนัก"
มีข้อสงสัยว่าสมาร์ทโฟนเข้ามาวุ่นวายกับชีวิตของเรามากเกินไปหรือเปล่า? คนส่วนใหญ่ไม่ออกจากบ้านโดยไม่พกสมาร์ทโฟน และถ้านึกขึ้นได้ว่าลืม พวกเขามักจะกลับไปเอา เรียกว่าขาดไม่ได้ ว่างั้นเถอะ
ยังมีหลายคนที่ยอมรับว่าสมาร์ทโฟนนั้นชอบแทรกตัวเข้ามาในระหว่างดำเนินชีวิตประจำวัน และเป็นสาเหตุหลักของความวุ่นวายใจ ไหนจะเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว เรื่องแฟน ยังต้องมีเรื่องโทรศัพท์อีก ... โอ้ชีวิต !@#$%
10 วิธีการใช้งาน SmartPhone อย่างชาญฉลาด (Be Smarter About Your Smartphone)
1. รู้วิธีใช้งาน : ถ้าคุณมีสมาร์ทโฟนสักเครื่องและอยากจะใช้งานฟีเจอร์ดีๆ ที่มันมี โปรดมั่นใจว่าคุณทำความคุ้นเคยและเรียนรู้วิธีการใช้งานมันจริงๆ ไม่ว่าจะเรื่องของการท่องอินเทอร์เน็ตเต็มรูปแบบ, ปรับขนาดภาพวิดีโอตามความเหมาะสม ทั้งหมดนี้มีสอนบน Youtube อย่าพลาดที่จะเรียนรู้และหัดใช้ให้เป็น
2. รู้ว่าจะปิดเสียงยังไง : ถ้าคุณเรียนรู้ข้อ 1 เรียบร้อยแล้ว อย่าลืมดูวิธีปิดเสียงโทรศัพท์ของคุณ มันแปลกมากที่คนส่วนใหญ่ใช้สมาร์ทโฟนทั้งๆ ที่ไม่ทราบวิธีปิดเสียง มันคงไม่ดีนักถ้าคุณประชุมอยู่แล้วสมาร์ทโฟนดังขึ้น คนอื่นคงไม่มองว่ามัน "สมาร์ท" แล้วกระมัง
3. เรียนรู้มารยาท กาละเทศะ : หรืออะไรก็ตามแล้วแต่จะเรียก ไม่มีใครคนไหนอยากฟังเสียงคุณคุยโทรศัพท์หรอกนะ เชื่อสิ! หลีกเลี่ยงการคุยโทรศัพท์ในที่สาธารณะ เช่น ในโรงภาพยนต์ โรงพยาบาล ร้านอาหาร และที่ๆ มีคนอยู่เยอะ หากต้องรับสายมันคงจะดีกว่าถ้าคุณจะออกไปโทรศัพท์ข้างนอก
4. ใช้อย่างระมัดระวัง : สมาร์ทโฟนเป็นหนึ่งในหายนะของการขับรถ หากจำเป็นต้องสนทนา เลือกใช้ชุดหูฟังเพื่อความปลอดภัยของชีวิตคุณและผู้โดยสารดีกว่า
5. ปิดการแจ้งเตือนอีเมล : อีเมลบนสมาร์ทโฟนเป็นหนึ่งในตัวสร้างเสียงรบกวนที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด คุณไม่จำเป็นต้องเช็คเมลทุกๆ 30 วินาทีหรอกนะ ถ้าไม่ใช่นักธุรกิจที่ต้องติดต่องานมูลค่าหลายล้าน ขอแนะนำให้ปิดเสียงเตือนอีเมลในโทรศัพท์ ยกเว้นจำเป็นต้องตรวจเช็คอีเมลบ่อยจริงๆ (บ่อยครั้งที่เป็นอีเมลไร้สาระ ไม่เห็นน่าสนใจ)
6. ปิดการแจ้งเตือนทั้งหมด : คุณแน่ใจหรือว่าจะเปิดการแจ้งเตือนทุกอย่าง ? ต้องดูทุกความเคลื่อนไหว ? ปิดไปซะบ้าง จะเห็นว่าชีวิตคุณมีเวลาเหลืออีกเพียบ!
7. ทำความสะอาดเครื่อง (ข้างในระบบ) : ถึงแม้คุณจะมีพื้นที่เก็บข้อมูลแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนมหาศาลแค่ไหน ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องโหลดแอพพลิเคชั่นมาทุกตัว เลือกใช้เฉพาะที่ใช้งานจริง พนันกันได้เลยว่ามีแอพพลิเคชั่นที่คุณไม่เคยเปิดใช้อยู่ในสมาร์ทโฟนแน่นอน
8. เก็บมันใส่กระเป๋า : ไม่จำเป็นต้องมองเห็นสมาร์ทโฟนวางอยู่บนโต๊ะ หรืออยู่ในห้องประชุม รอคอยเวลาให้มันสั่นหรอกนะ เมื่อคุณไม่ใช้มัน เก็บใส่กระเป๋าเสื้อหรือกระเป๋าดีกว่า ไม่เสี่ยงต่อการสูญหายด้วย
9. สำรองข้อมูล : อย่าประมาท เพราะสิ่งสำคัญนอกจากการที่โทรศัพท์หาย นั่นคือข้อมูลก็หายไปด้วย รายชื่อติดต่อมากมาย ? ภาพส่วนตัว ? โปรดแน่ใจว่าคุณสำรองข้อมูลเป็นประจำ หากคุณใช้ iPhone มันเป็นเรื่องง่ายมาก เพียงสำรองข้อมูลผ่าน iCloud (คนส่วนใหญ่ มักละเลยข้อนี้)
10. ตรวจสอบค่าใช้จ่าย : มั่นใจมากว่ามีหลายคนที่ใช้สมาร์ทโฟนแล้วต้องเสียเงิน "แพงกว่าความเป็นจริง" ตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่ใช้งานจริง และเลือกโปรโมชั่นหรือการใช้งานที่เหมาะสม อย่ามองว่าต้องมีแพคเกจบุฟเฟต์ Unlimited ในขณะที่ใช้จริงแค่ไม่กี่ร้อยบาท เสียดายเงิน!
มีอีกหลายวิธีที่จะใช้งานสมาร์ทโฟนอย่างชาญฉลาด อย่าลืมว่าจุดประสงค์ของเทคโนโลยี คือช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน อย่าใช้งานสมาร์ทโฟนแพงๆ เพราะสักแต่ว่า ต้องมี ต้องเท่ห์ เพราะว่าพรุ่งนี้...มือถือของคุณ..ก็กลายเป็นรุ่นเก่าแล้ว!!!