การแบ่งClass ของเครือข่าย IP addess
|
|
|
การติดต่อสื่อสารกันในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีโพรโตคอล TCP/IP เป็นมาตรฐานนี้
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมอยู่
จะต้องมีหมายเลขเครื่องเอาไว้อ้างอิงให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทราบ
เหมือนกับทุกคนที่ต้องมีชื่อและนามสกุลให้คนอื่นเรียก ซึ่งจะซ้ำกันไม่ได้
หมายเลขเครื่องอ้างอิงดังกล่าวเรียกว่า IP Address หรือ
หมายเลข IP หรือบางที่เรียกว่า “แอดเดรส IP” (IP ในที่นี้คือ Internet
Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง)
ซึ่งถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต
ใน 1 ชุดนี้มีตัวเลขถูกแบ่งเป็น 4 ส่วน
ส่วนละ 8 บิต เท่า ๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐาน
10 ก่อนเพื่อเป็นการง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละตัวด้วยจุด
ดังนั้นตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ตั้งแต่ 0 จนถึง
28 - 1 = 255 เท่านั้น เช่น 192.10.1.101 เป็นต้น
|
|
ตัวเลข IP Address
ชุดนี้เป็นสิ่งที่สำคัญคล้าย ๆ
เบอร์โทรศัพท์ที่เรามีใช้อยู่และไม่ซ้ำกัน
เพราะสามารถกำหนดตัวเลขได้ทั้งสิ้น 4 พันล้านเลขหมาย
แต่การกำหนดให้คอมพิวเตอร์มีเลขหมาย IP Address นี้
ไม่ได้เริ่มจาก 1 และเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ
หากแต่จะมีการจัดแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
คือ
|
ส่วนแรก เป็นเลขหมายของเครือข่าย (Network Number)
|
|
ส่วนที่สอง เรียกว่าหมายเลขคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายนั้น (Host Number)
เพราะในเครือข่ายใด ๆ อาจมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่มากมาย
ในเครือข่ายที่อยู่คนละระบบ อาจมีเลข Host ซ้ำกันก็ได้
แต่เมื่อรวมกับเลขหมาย Network แล้วจะเป็น IP Address
ที่ไม่ซ้ำกันเลย
|
|
|
ในการจัดตั้งหรือการกำหนดเลขหมาย IP
Address นี้มีวิธีการกำหนดที่ชัดเจนและมีวิธีกฏเกณฑ์ที่รัดกุม ผู้ใช้ที่อยากจัดตั้ง
Host คอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมต่อเข้าอินเตอร์เน็ตและบริการต่าง ๆ สามารถขอเลขหมาย IP
Address ได้ ที่หน่วยงาน Internet Network Information Center (InterNIC) ขององค์กร
Network Solution Incorporated (NIS) ที่รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา
แต่ถ้าผู้ใช้สมัครเข้าเป็นสมาชิกขอใช้บริการอินเตอร์เน็ตจากบริษัทผู้ให้บริการ
(Internet Service Provider) เรียกย่อ ๆ ว่า หน่วยงาน ISP รายใดก็ตาม ก็ไม่ต้องไปขอ
IP Address เนื่องจากหน่วยงาน ISP เหล่านั้นจะกำหนดหมายเลข IP ให้ใช้ หรือส่งค่า IP
ชั่วคราวให้ใช้งาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการขอใช้รูปแบบของการบริการ
|
|
IP Address
นี้จะแบ่งได้เป็น 5 ระดับ (Class) ที่ใช้งานโดยทั่วไปจะมีเพียง 3 ระดับคือ
Class A, Class B, Class C ซึ่งจะแบ่งตามขนาดของเครือข่ายนั่นเอง
ถ้าเครือข่ายนั้นมีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่มากก็จะจัดอยู่ใน Class A
ถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ลดหลั่นกันลงมาก็จะจัดอยู่ใน Class B, Class C
ตามลำดับ
|
|
จากรูปจะเห็นว่าหมายเลข IP ของ Class A ตัวแรกจะเป็น 0
และหมายเลขของเครือข่าย (Network Number) ขนาด 7 บิต
และมีหมายเลขของเครื่องคอมพิวเตอร์ (Host Number) ขนาด 24 บิต
ทำให้ในหนึ่งเครือข่ายของ Class A สามารถมีเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้ถึง 224
= 16 ล้านเครื่อง เหมาะสำหรับองค์กรหรือบริษัทเครือข่ายยักษ์ใหญ่ แต่ใน Class A
นี้จะมีหมายเลขเครือข่ายได้ 128 ตัวเท่านั้นทั่วโลก คือสามารถมีเครือข่ายยักษ์ใหญ่
Class A ได้เพียง 128 เครือข่ายเท่านั้น
|
|
สำหรับ Class B จะมีหมายเลขเครือข่าย แบบ14 บิต
และหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ 16 บิต (ส่วนอีก 2
บิตที่เหลือบังคับว่าต้องขึ้นต้นด้วย 10 ) ดังนั้นสามารถมีเครือข่ายอยู่ใน Class B
ได้มากกว่า Class A คือมีได้ถึง 214 = 16,384 เครือข่าย
และสามารถมีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อในเครือข่าย Class B แต่ละเครือข่ายได้ถึง
216 หรือ 65,536 เครื่อง
|
|
สุดท้ายคือ Class C ซึ่งมีหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ
8 บิตและมีหมายเลขเครือข่ายแบบ 21 บิต ส่วน 3 บิตแรกบังคับว่าต้องเป็น 1102
ดังนั้นในแต่ละเครือข่ายของ Class C จะมีจำนวนเครื่องต่อเชื่อมได้เพียงไม่เกิน 254
เครื่องต่อเครือข่าย ( 28 = 256 แต่หมายเลขเครื่อง 0 และ 255 จะไม่ถูกใช้งาน
จึงเหลือเพียง 254 ดังนั้นวิธีการสังเกตได้ง่าย ๆ ว่าเราเชื่อมต่อเครือข่าย Class
ใดสามารถดูได้จาก IP Address ในส่วนหน้า (ส่วน Network Address)
โดย
|
Class A จะมี Network ตั้งแต่ 0 ถึง 127 (จะได้เห็นว่า
บิตแรกเป็น 0 เสมอ)
|
|
Class B จะมี Network ตั้งแต่ 128 ถึง 191
(เพราะขึ้นต้นด้วย 102
เท่านั้น)
|
|
Class C จะมี Network ตั้งแต่ 192 ถึง 223
(เพราะขึ้นต้นด้วย 1102 เท่านั้น)
เช่นถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในอินเตอร์เน็ตมีหมายเลข IP
ดังนี้ 150.16.80.7 ตัวเลข 150.16 แสดงว่าเป็นเครือข่าย Class B
ซึ่งหมายเลขเครือข่ายเต็มๆ จะใช้ สองส่วนแรกคือ 150.16
และมีหมายเลขของเครื่องคอมพิวเตอร์คือ 80.7 หรือถ้ามี IP Address เป็น 192.168.8.55
ทำให้เราทราบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นอยู่ในเครือข่าย Class C
มีหมายเลขเครือข่ายอยู่ใน 3 ส่วนแรก ได้แก่ 192.168.8 และมีหมายเลขประจำเครื่องคือ
55 เป็นต้น
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น