IPv6เหนือกว่าIPv4 อย่างไร
IPv6 เป็นโปรโตคอลที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย IETF (The Internet Engineering Task Force) เพื่อให้สามารถมีไอพีแอดเดรส ได้เพียงพอต่อความ ต้องการในอนาคต รวมทั้งปรับปรุงคุณภาพ และความปลอดภัย (security) ในการใช้งานให้มีมากยิ่งขึ้น IPv6 เริ่มมีการใช้งานที่ประเทศญี่ปุ่นและ เกาหลี ทั้งนี้ เพราะทั้งสองประเทศเป็นประเทศแรกๆ ที่เริ่มมีปัญหาการขาดแคลนไอพีแอดเดรส ต่อมาประเทศจีนและทางฝั่งยุโรปก็เริ่มมีการใช้งาน IPv6 ส่วนสหรัฐอเมริกานั้นยังไม่ประสบปัญหาการขาดแคลนไอพีแอดเดรสจึงยังคงใช้ IPv4 อยู่ ขณะที่ประเทศไทยนั้นยังอยู่ในช่วงการทดสอบการใช้ งานซึ่งมีบริษัทที่ร่วมทดสอบได้แก่ CAT, AsiaInfonet, CS-Loxinfo, JI-Net, Samart และ Internet Thailand
เดิม
IPv4 นั้นมีขนาดไอพีแอดเดรส 32 บิต ซึ่งเท่ากับว่าจะมีจำนวนหมายเลขไอพีแอดเดรสเท่ากับ 232 หมายเลข (ประมาณ 4.3×109 หมายเลข) โดยหมายเลขไอพีแอดเดรสนั้นจะถูกระบุด้วยเลขฐานสิบ เช่น 192.168.2.100 ส่วน IPv6 สามารถเพิ่มจำนวนบิตของไอพีแอดเดรสได้มาก ขึ้นเป็น 128 บิต นั่นหมายความว่าจะมีจำนวนไอพีแอดเดรสได้มากถึง 2128 หมายเลข (ประมาณ 3.4×1032 หมายเลข) โดยจะถูกระบุด้วยเลขฐานสิบหก แทน ซึ่งจากการเพิ่มจำนวนบิตใน IPv6 ทำให้จำนวนไอพีแอดเดรสที่เพียงพออย่างแน่นอน
เดิม
IPv4 นั้นมีขนาดไอพีแอดเดรส 32 บิต ซึ่งเท่ากับว่าจะมีจำนวนหมายเลขไอพีแอดเดรสเท่ากับ 232 หมายเลข (ประมาณ 4.3×109 หมายเลข) โดยหมายเลขไอพีแอดเดรสนั้นจะถูกระบุด้วยเลขฐานสิบ เช่น 192.168.2.100 ส่วน IPv6 สามารถเพิ่มจำนวนบิตของไอพีแอดเดรสได้มาก ขึ้นเป็น 128 บิต นั่นหมายความว่าจะมีจำนวนไอพีแอดเดรสได้มากถึง 2128 หมายเลข (ประมาณ 3.4×1032 หมายเลข) โดยจะถูกระบุด้วยเลขฐานสิบหก แทน ซึ่งจากการเพิ่มจำนวนบิตใน IPv6 ทำให้จำนวนไอพีแอดเดรสที่เพียงพออย่างแน่นอน
ตาราง IPv6เหนือกว่าIPv4 อย่างไร
คุณสมบัติ
|
ข้อดีของ IPv6
|
ความสำคัญ
|
1. การกำหนดค่าแอดเดรส(Addressing)
|
IPv6 นั้นมีจำนวนไอพีแอดเดรสที่มากกว่า IPv4 ถึง8×1028 เท่า
|
การมีจำนวนไอพีแอดเดรสเพิ่มขึ้นทำให้สามารถเพิ่มอุปกรณ์ สื่อสารเพื่อขยายขนาดของเครือข่ายได้ และตอบสนองการใช้ งานได้ดียิ่งขึ้น
|
2. การปรับแต่งระบบ
(Configuration)
|
IPv6 สนับสนุนการปรับแต่งระบบให้เป็นแบบ อัตโนมัติ หรือ automatically configuration ซึ่งไม่ จำเป็นต้องกำหนดไอพีแอดเดรสตายตัว (Static Address) หรือ การกำหนดแบบครั้งคราว (DHCP)แบบ IPv4
|
การใช้งาน automatically configuration นั้นมีความง่าย เพราะไม่ต้องปรับแบบ manual ซึ่งมีความยุ่งยากในการดูแล จัดการเครือข่าย
|
3. การรับส่งข้อมูล
(Data Delivery)
|
IPv6 มีการปรับ Header ให้มีขนาดเท่ากันทำให้ง่าย ต่อการประมาลผล นอกจากนี้ IPv6 ยังสามารถ จัดลำดับความสำคัญ (priority) ของ traffic เพื่อกำหนดคุณภาพของการให้บริการ (QoS)
|
ในการส่งข้อมูลมัลติมีเดียนั้น ความเร็วและความถูกต้องของ ข้อมูลที่ส่งเป็นสิ่งที่สำคัญ และหากมีการจัด priority ของ ข้อมูลยิ่งทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานและการให้บริการดี ยิ่งขึ้น
|
4. เส้นทาง
(Routing)
|
IPv6 มีโครงสร้างการหาเส้นทางแบบลำดับชั้น ทำให้ การส่ง packet จาก segment หนึ่งไปยังอีกsegment หนึ่งเป็นไปโดยง่าย
|
IPv4 มีการจัดลำดับเส้นทางเพียงบางส่วนเท่านั้น ทำให้ ตารางเส้นทาง (routing table) มีขนาดยาวและใหญ่มาก ซึ่ง แตกต่างจาก IPv6ที่มีขนาดตารางเส้นทางเล็กเนื่องจากoverhead ที่ใช้ประมวลผลที่ router มีขนาดน้อยกว่า
|
5. ความปลอดภัย
(Security)
|
ใน IPv4 มาตรฐานความปลอดภัยของไอพี (IP Security Standard : IPSec) ถูกกำหนดให้เป็นเพียง แค่ตัวเลือก ไม่จำเป็นต้องใช้ในเครือข่ายก็ได้ แต่ในIPv6 IPSec ถูกกำหนดตามมาตรฐาน ให้เป็นสิ่งที่ต้องใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของเครือข่าย
|
การมีมาตรฐานความปลอดภัยที่แน่นอนและเหมือนกัน ทำให้ การใช้งานระบบอินเตอร์เนตเป็นไปโดยง่าย และมีความปลอดภัยของข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น
]
|