วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Smart Phone คืออะไร (วัน ศุกร์ ที่ 30 พฤศจิกายน 2555)




Smart Phone คืออะไร


Smart Phone หมายถึงโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถพิเศษเพิ่มเติมของ PDA เข้าไป ทำให้สามารถมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น รับส่งอีเมล์ มีปฏิทิน จัดทำตารางนัดหมาย และ contact เป็นต้น เรียกได้ว่า Smart Phone เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดย่อมเลยทีเดียว

คุณสมบัติเด่นของ Smart Phone

ระบบปฏิบัติการ หรือ OS (Operating System) เป็นระบบที่ช่วยให้การทำงานของโทรศัพท์มีประสิทธิภาพ และเป็นตัวกำหนดว่าโปรแกรมต่างๆ ที่จะสามารถติดตั้งเข้ากับ Smart Phone ได้หรือไม่ด้วย สำหรับระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมใช้งานบน Smart Phone ได้แก่ Symbian OS, Windows Mobile, Palm OS หรือแม้กระทั่ง Linux OS

อุปกรณ์ต่อพ่วงที่ใช้สำหรับ Smart Phone

  • หูฟัง Bluetooth
    หูฟังแบบไร้สาย ที่อาศัยเทคโนโลยี Bluetooth ในการสื่อสาร โดยสามารถพูดคุยได้ โดยไม่จำเป็นต้องวางโทรศัพท์ไว้ใกล้ตัวเอรา ปกติจะสามารถใช้งานในระยะประมาณ 10 เมตร ทั้งนี้ขึ้นกับประสิทธิภาพของ Bluetooth
  • แป้นพิมพ์ - Keyboard ช่วยให้เกิดความสะดวกในการพิมพ์ข้อความ โดยเฉพาะอีเมล
  • จอยสติ๊ก JoyStick สำหรับเล่นเกมส์บนมือถือ เพื่อความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น
  • อื่นๆ อีกมากมาย

PDA PHONE, PALM PHONE คืออะไร

  • การนำ PDA หรือ Pocket PC มาเพิ่มความสามารถในการใช้งานโทรศัพท์
  • ส่วน Palm Phone ก็คือเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Palm มาเพิ่มความสามารถในการใช้งานโทรศัพท์


โทรศัพท์แบบ SMART PHONE

DOPOD 838 PDA PHONE


  • HTC Smart Phone?
  • Motorola A1000
  • Nokia 6680
  • O2 XDA II
  • Samsung i600
  • Sony Ericsson P800, P900

** ด้วยการทำงานของ Smart Phone ที่มีความหลายหลาย และใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์ สามารถติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมเข้าไปได้ ดังนั้น ปัญหาที่อาจเกิดตามมาโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ง่ายๆ นั่นคือ ไวรัส ซึ่งจะมีลักษณะการทำงานคล้ายๆ กับไวรัสคอมพิวเตอร์ คงต้องชั่งใจ สักนิด ก่อนเลือกซื้อ..


SmartPhone ...เมื่อพูดถึงคำนี้ หลายคนคิดว่า มันจะทำให้ชีวิตของเราง่ายขึ้น? ทำให้เราทำงานสำเร็จลุล่วง? แต่ยังก่อน จนกว่าคุณจะอ่านบทความนี้จบ และทบทวนว่าวันนี้คุณใช้สมาร์ทโฟนอย่าง "สมาร์ท" แล้วหรือยัง
โทรศัพท์ได้รับความนิยมและใช้งานต่อเนื่องมาอย่างยาวนานจนกระทั่งการมาของ "iPhone" ได้เปลี่ยนความคิดของการใช้โทรศัพท์แบบเดิม และเกิดนิยามคำว่าสมาร์ทโฟนขึ้นมาได้ชัดเจนและเห็นภาพมากขึ้น
Steve Job เคยกล่าวนิยามของ SmartPhone ไว้ว่า"ปัญหาของ smartphone คือ...มันไม่ได้สมาร์ทซะทุกอย่างเหมือนที่ชื่อบอกและมันก็ไม่ได้ง่ายต่อการใช้งานนัก"
มีข้อสงสัยว่าสมาร์ทโฟนเข้ามาวุ่นวายกับชีวิตของเรามากเกินไปหรือเปล่า? คนส่วนใหญ่ไม่ออกจากบ้านโดยไม่พกสมาร์ทโฟน และถ้านึกขึ้นได้ว่าลืม พวกเขามักจะกลับไปเอา เรียกว่าขาดไม่ได้ ว่างั้นเถอะ
ยังมีหลายคนที่ยอมรับว่าสมาร์ทโฟนนั้นชอบแทรกตัวเข้ามาในระหว่างดำเนินชีวิตประจำวัน และเป็นสาเหตุหลักของความวุ่นวายใจ ไหนจะเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว เรื่องแฟน ยังต้องมีเรื่องโทรศัพท์อีก ... โอ้ชีวิต !@#$%
10 วิธีการใช้งาน SmartPhone อย่างชาญฉลาด (Be Smarter About Your Smartphone)
1. รู้วิธีใช้งาน : ถ้าคุณมีสมาร์ทโฟนสักเครื่องและอยากจะใช้งานฟีเจอร์ดีๆ ที่มันมี โปรดมั่นใจว่าคุณทำความคุ้นเคยและเรียนรู้วิธีการใช้งานมันจริงๆ ไม่ว่าจะเรื่องของการท่องอินเทอร์เน็ตเต็มรูปแบบ, ปรับขนาดภาพวิดีโอตามความเหมาะสม ทั้งหมดนี้มีสอนบน Youtube อย่าพลาดที่จะเรียนรู้และหัดใช้ให้เป็น
2. รู้ว่าจะปิดเสียงยังไง : ถ้าคุณเรียนรู้ข้อ 1 เรียบร้อยแล้ว อย่าลืมดูวิธีปิดเสียงโทรศัพท์ของคุณ มันแปลกมากที่คนส่วนใหญ่ใช้สมาร์ทโฟนทั้งๆ ที่ไม่ทราบวิธีปิดเสียง มันคงไม่ดีนักถ้าคุณประชุมอยู่แล้วสมาร์ทโฟนดังขึ้น คนอื่นคงไม่มองว่ามัน "สมาร์ท" แล้วกระมัง
3. เรียนรู้มารยาท กาละเทศะ : หรืออะไรก็ตามแล้วแต่จะเรียก ไม่มีใครคนไหนอยากฟังเสียงคุณคุยโทรศัพท์หรอกนะ เชื่อสิ! หลีกเลี่ยงการคุยโทรศัพท์ในที่สาธารณะ เช่น ในโรงภาพยนต์ โรงพยาบาล ร้านอาหาร และที่ๆ มีคนอยู่เยอะ หากต้องรับสายมันคงจะดีกว่าถ้าคุณจะออกไปโทรศัพท์ข้างนอก
4. ใช้อย่างระมัดระวัง : สมาร์ทโฟนเป็นหนึ่งในหายนะของการขับรถ หากจำเป็นต้องสนทนา เลือกใช้ชุดหูฟังเพื่อความปลอดภัยของชีวิตคุณและผู้โดยสารดีกว่า
5. ปิดการแจ้งเตือนอีเมล : อีเมลบนสมาร์ทโฟนเป็นหนึ่งในตัวสร้างเสียงรบกวนที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด คุณไม่จำเป็นต้องเช็คเมลทุกๆ 30 วินาทีหรอกนะ ถ้าไม่ใช่นักธุรกิจที่ต้องติดต่องานมูลค่าหลายล้าน ขอแนะนำให้ปิดเสียงเตือนอีเมลในโทรศัพท์ ยกเว้นจำเป็นต้องตรวจเช็คอีเมลบ่อยจริงๆ (บ่อยครั้งที่เป็นอีเมลไร้สาระ ไม่เห็นน่าสนใจ)
6. ปิดการแจ้งเตือนทั้งหมด : คุณแน่ใจหรือว่าจะเปิดการแจ้งเตือนทุกอย่าง ? ต้องดูทุกความเคลื่อนไหว ? ปิดไปซะบ้าง จะเห็นว่าชีวิตคุณมีเวลาเหลืออีกเพียบ!
7. ทำความสะอาดเครื่อง (ข้างในระบบ) : ถึงแม้คุณจะมีพื้นที่เก็บข้อมูลแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนมหาศาลแค่ไหน ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องโหลดแอพพลิเคชั่นมาทุกตัว เลือกใช้เฉพาะที่ใช้งานจริง พนันกันได้เลยว่ามีแอพพลิเคชั่นที่คุณไม่เคยเปิดใช้อยู่ในสมาร์ทโฟนแน่นอน
8. เก็บมันใส่กระเป๋า : ไม่จำเป็นต้องมองเห็นสมาร์ทโฟนวางอยู่บนโต๊ะ หรืออยู่ในห้องประชุม รอคอยเวลาให้มันสั่นหรอกนะ เมื่อคุณไม่ใช้มัน เก็บใส่กระเป๋าเสื้อหรือกระเป๋าดีกว่า ไม่เสี่ยงต่อการสูญหายด้วย
9. สำรองข้อมูล : อย่าประมาท เพราะสิ่งสำคัญนอกจากการที่โทรศัพท์หาย นั่นคือข้อมูลก็หายไปด้วย รายชื่อติดต่อมากมาย ? ภาพส่วนตัว ? โปรดแน่ใจว่าคุณสำรองข้อมูลเป็นประจำ หากคุณใช้ iPhone มันเป็นเรื่องง่ายมาก เพียงสำรองข้อมูลผ่าน iCloud (คนส่วนใหญ่ มักละเลยข้อนี้)
10. ตรวจสอบค่าใช้จ่าย : มั่นใจมากว่ามีหลายคนที่ใช้สมาร์ทโฟนแล้วต้องเสียเงิน "แพงกว่าความเป็นจริง" ตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่ใช้งานจริง และเลือกโปรโมชั่นหรือการใช้งานที่เหมาะสม อย่ามองว่าต้องมีแพคเกจบุฟเฟต์ Unlimited ในขณะที่ใช้จริงแค่ไม่กี่ร้อยบาท เสียดายเงิน!
มีอีกหลายวิธีที่จะใช้งานสมาร์ทโฟนอย่างชาญฉลาด อย่าลืมว่าจุดประสงค์ของเทคโนโลยี คือช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน อย่าใช้งานสมาร์ทโฟนแพงๆ เพราะสักแต่ว่า ต้องมี ต้องเท่ห์ เพราะว่าพรุ่งนี้...มือถือของคุณ..ก็กลายเป็นรุ่นเก่าแล้ว!!!

ไวรัสคอมพิวเตอร์(วันคุกร์ ที่ 23 พฤศจิกายน 2555 )

ไวรัสคอมพิวเตอร์

ไวรัสคอมพิวเตอร์
ไวรัสคอมพิวเตอร์ เป็นโปรแกรมพิเศษชนิดหนึ่งที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้จัดการกับตัวมันเอง โดยมีลักษณะเลียบแบบสิ่งมีชีวิต คือ เจริญเติบโตเองได้ ขยายและแพร่กระจายเองได้ สามารถอยู่รอดได้ โปรแกรมนี้เข้าไปอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้ โดยผ่านทาง
  • แผ่นฟลอปปีดิสก์
  • เครือข่ายคอมพิวเตอร์
จากการที่ไวรัสคอมพิวเตอร์ ทำงานได้ด้วยเงื่อนไขลักษณะใดลักษณะหนึ่งหลายลักษณะ จึงทำให้ผู้ใช้ไม่รู้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนติดไวรัสหรือไม่ พอเปิดเครื่องใช้ก็อาจพบว่าระบบคอมพิวเตอร์ของตนถูกไวรัสทำลายเสียแล้ว ไวรัสบางตัวไม่เพียงทำลาย ลบ ล้าง ย้ายข้อมูลของเรา โดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น แต่ยังสามารถทำลายโปรแกรมอื่น ๆได้อีกด้วยโดยสังเกตได้จากการที่หน้าจอแสดงผลโดยอาการแปลก ๆ



การแพร่กระจายและการทำงานของไวรัสคอมพิวเตอร์
การแพร่กระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ มีลักษณะคล้ายกับการแพร่กระจายของเชื้อโรคทั่วไป กล่าวคือ ต้องมีพาหะ หรือตัวกลาง เช่น อากาศ น้ำ และพาหะอื่น ๆ ส่วนโลกของคอมพิวเตอร์พาหะที่ว่านั้นก็คือ
  • แผ่นดิสก์
  • สายเคเบิลเพื่อสื่อสารข้อมูล โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีผู้ใช้หลายคน และแต่ละคนก็ต่างมีแผ่นดิสก์ของตนเอง รวมทั้งมีการก๊อปปี้แผ่นดิสก์กันโดยไม่มีเงื่อนไขด้วยแล้ว ยังมีโอกาสติดไวรัสคอมพิวเตอร์มากขึ้น   


ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์
เราสามารถแบ่งไวรัสที่มีอยู่มากกว่าแปดพันชนิด ตามลักษณะแหล่งที่อยู่ และการฝังตัวของมันได้ดังนี้
  1. ไวรัสที่ฝังตัวอยู่ตามบูตเซ็กเตอร์ของแผ่นดิสก์และตารางพาร์ติชัน
  2. ทุกครั่งทีทำการเปิดเครื่อง ระบบจัดการของคอมพิวเตอร์จะอ่านข้อมูลจากบูตเซ็กเตอร์ และโหลดเข้าไปในหน่วยความจำก่อน เสมอ ทำให้ไวรัสประเภทนี้ถูกโหลดไปหลบซ่อนในหน่วยความจำเพื่อรจังหวะแพร่กระจายต่อไปยังแผ่นดิสก์
    ไวรัสประเภท ไม่สามารถทำลายได้โดยการเปิดเครื่องใหม่ เพราะมันจะเริ่มอยู่ในหน่วยความจำตั้งแต่เปิดเครื่อง และจะเมทำงานตลอดเวลานับจากนั้น
  3. ไวรัสที่เกาะตามไฟล์
  4. ส่วนมากจะเกาะติดไฟล์ที่มีสกุล .COM และ .EXE คือเมื่อมีการใช้งานโปรแกรม .COM .EXE ไวรัสประเภทนี้จะแยกตัวไปซ่อนอยู่ในหน่วยความจำ แล้วหาทางเกาะติดไฟล์ที่มีนามสกุลดังกล่าว ที่เก็บไว้ในแผ่นดิสก์
  5. ไวรัสที่ฝังตัวอยู่ในไฟล์ COMMAND.COM
  6. ไฟล์นี้เป็น ไฟล์ คำสั่งพื้นฐานที่มีอยู่ในระบบปฏิบัติการ เช่น เมื่อไปใช้งานในโหมด DOS Prompt แล้วไฟล์คำสั่ง COMMAND จะทำหน้าที่แปลคำสั่งนั้นให้เป็นภาษาเครื่องเข้าใจ เช่น คำสั่ง DEL,REN,DIR,COPY เป็นต้น จากการที่ไฟล์นี้ทำงานบ่อย ๆ นี่เอง ทำให้กระจายไปได้อย่างกว้างขวาง ทำลายยากกว่าไวรัสประเภทแรก
  7. ไวรัสที่แฝงตัวอยู่ในหน่วยความจำ
  8. ไวรัสประเภทนี้จะฝังติดอยู่ในหน่วยความจำ และรอจนกว่าจะเป็นไปตามเงื่อนไขที่เหมาะสมของสภาพแวดล้อม ไวรัสนี้ก็จะเริ่มทำงานทันที
  9. ไวรัสประเภททำลายเฉพาะไฟล์
ไวรัสประเภทนี้เกาะติดไฟล์โปรแกรมไปเรื่อย ๆ และเมื่อพบไฟล์ที่ต้องการก็จะเริ่มทำงานไม่ว่าจะเป็นการแก้ไข การทำลาย การเคลื่อนย้าย เป็นไวรัสที่ร้ายแรงต่อเศรษฐกิจมากกว่าไวรัสประเภทอื่น ๆ กว่าจะพิสูจน์ได้ว่าติดไวรัสแล้ว ข้อมูลที่สำคัญของผู้ใช้ก็อาจหายไปหมดแล้ว

ผลกระทบจากการก่อกวนของไวร้สคอมพิวเตอร์
ผลกระทบนั้น จะเจอลักษณะต่าง ๆ แล้วแต่ชนิดของไวรัส อาจเป็นดังนี้
  1. ทำลายบูตเซกเตอร์ ทำให้ฮาร์ดดิสก์หรือแผ่นดิสก์ที่มีระบบ บูตไม่ได้
  2. ทำลายไฟล์ข้อมูล โดยลบไฟล์ข้อมูลแล้วกู้กลับคืนมาไม่ได้
  3. ทำลาย FAT ของแผ่นดิสก์
  4. ทำให้ไฟล์ข้อมูลมีขนาดเพิ่มขึ้นเอง โดยไวรัสจะสร้างข้อมูลขึ้นมาเอง ทำให้ไฟล์ข้อมูลมีลักษณะแปลกหูแปลกตาเกิดขึ้น
  5. ทำให้ความเร็วของเครื่องช้าลง การเรียกใช้โปรแกรมจเสียเวลามากขึ้น
  6. การเรียกใช้บางโปรแกรม จะเกิดอาการเครื่องขัดข้อง ( hang – up ) ต้องเปิด – ปิดเครื่องบ่อย ๆ ทำให้ผู้ใช้เสียอารมณ์
  7. ฟอร์แมตแผ่นให้เราใหม่ โดยไม่ได้สั่ง
  8. หน่วยความจำของเครื่องมีขนาดเล็กลง
  9. ทำลายค่าที่ติดตั้งของระบบ เช่น ทำลายไฟล์ CONFIG.SYS ทำให้เมื่อเราเริ่มเปิดเครื่อง เครื่องจะไม่ทำงานในส่วนนี้
  10. ส่งข้อความแปลกประหลาด ออกทางหน้าจอหรือทางเครื่องพิมพ์แล้วแต่จังหวะ โดยที่ผู้ใช้ไม่ได้สั่งการ

การป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
มีเทคนิคอยู่มากมายหลายวิธี ดังนี้
  1. ทุกครั้งที่นำซอฟแวร์ที่ไม่ทราบแหล่งที่ผลิต หรือได้รับแจกฟรี ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนนำไปใช้
  2. ควรตรวจสอบทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
  3. เตรียมแผ่นที่สะอาดไว้สำหรับบูตเครื่องเมื่อคราวจำเป็น
  4. ควรสำรองข้อมูลไว้เสมอ
  5. พยายามสังเกตุสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเครื่องอย่างสม่ำเสมอ เช่น การทำงานที่ช้าลง ขนาดไฟล์ หน้าจอแสดงผลแปลก ๆ ไดรฟ์มีเสียงผิดปกติ
  6. ไม่นำแผ่นดิสก์ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ถ้ายังไม่ได้ปิดแถบป้องกันการบันทึก (Write Protect )
  7. ควรแยกแผ่นโปรแกรม และแผ่นข้อมูลออกจากกันโดยเด็ดขาด
  8. ไม่อนุญาตให้คนอื่นมาเล่นเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน โดยปราศจากการควบคุมอย่าง
     ใกล้ชิด
  9. ควรมีโปรแกรมป้องกันไวรัสไว้ใช้ตรวจสอบและป้องกัน โดยเฉพาะโปรแกรมป้องกันไวรัสรุ่นใหม่ ๆ จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันได้ดีขึ้นมาก ในที่นี้จะขอแนะนำโปรแกรม SCAN ของบริษัท McAfee Associates รุ่น V.2.5.1 หรือ Norton Antivirus


ข้อควรปฏิบัติเมื่อพบไวรัสในขณะทำงาน
  1. บูตเครื่องใหม่โดยการปิด แล้วเปิด หรือกดปุ่ม RESET บนเครื่อง ควรบูตด้วยแผ่น DOS ที่มั่นใจด้วยว่าไม่มีไวรัส เพราะเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ไวรัสบางชนิดอาจสูญหายหรือหมดฤทธิ์ไป
  2. ใช้โปรแกรมตรวจสอบเช็คไวรัสที่เชื่อถือได้ ตรวจสอบฮาร์ดดิสก์หรือแผ่นดิสก์ ซึ่งโปรแกรมจะตรวจสอบไวรัสจากหน่วยความจำของเครื่องก่อนเสมอ
  3. หลังจากทราบชื่อและชนิดของไวรัสแล้ว ให้กำจัดหรือทำลายไวรัสด้วยโปรแกรมกำจัดไวรัส
  4. บางครั้งถ้าเป็นไวรัสที่เกาะติดตามบูตเซ็กเตอร์ ให้ก๊อปปี้คำสั่ง SYS.COM ของดอส อีกแผ่นที่แน่ใจว่าสะอาด ( ต้องเป็น SYS.COM รุ่นเดียวกัน ) เข้าไปในแผ่นดิสก์ที่ติดไวรัส อาจทำได้ดังนี้       A:\ SYS C: <Enter>
    การกระทำดังกล่าว เป็นการคัดลอกโปรแกรมระบบทั้ง 3 ไฟล์ ของดอสไปเขียนไว้ที่ไวรัสที่บูตเซกเตอร์
  5. เมื่อกำจัดไวรัสเรียบร้อยแล้ว (ข้อเท็จจริงแล้ว ไม่อาจเชื่อถือได้ว่ากำจัดได้ 100% ) ให้เปิดเครื่องใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยปิดเครื่องประมาณ 10 วินาที แล้วเปิดใหม่ หรือกดปุ่ม RESET ทั้งนี้เพื่อป้องกันความผิดพลาดอันเนื่องมาจากอาจมีไวรัสบางตัวหลบซ่อนอยู่ในหน่วยความจำก็เป็นได้